สถิติ
เปิดเว็บ | 12/09/2011 |
อัพเดท | 16/12/2019 |
ผู้เข้าชม | 342,072 |
เปิดเพจ | 586,649 |
สินค้าทั้งหมด | 30 |
บริการ
ลิ้งก์ตัวอักษร
สมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ ทรงเจดีย์ (Pagoda Mold Rakhang Temple)
ข้อมูลสินค้า
-
รหัสสินค้า
811
-
เข้าชม
9,075 ครั้ง
รุ่น
The Pagoda Mold, Rakhang Temple.
-
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
27/10/2019 04:32
-
รายละเอียดสินค้า
สมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ทรงเจดีย์ (Somdej Rakhang Temple by Somdej Buddhajarn Toh,
B.E. 2410-2415)
พระพักตร์กลม อกผายนูน ชั้นฐานมีความประสานกลมกลืนและลดหลั่นกันอย่างมีจังหวะ นั่งสมาธิในลักษณะคล้ายพระพุทธรูปสมัยเชียวแสน เจ้าประคุณสมเด็จๆ ท่านคงจะได้สร้างสมเด็จพิมพ์ทรงเจดีย์ ให้มีสมทิสลักษณ์ของพระแก้วมรกตในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
หากได้ส่องดูองค์พระจะเห็นคราบปูนที่ปูดออกมาจากเนื้อพระมาเกาะที่ผิวของของค์พระ บ่งบอกถึงความเก่าแก่มากกว่าร้อยปี พิมพ์ทรงเป็นของช่างหลวงมือเอก หลวงวิจารณ์ เจียรนัย สร้างในสมัยยุคปลาย คือหลังปี 2400 ก่อนที่เจ้าประคุณฯ ท่านจะมรณะภาพ สังเกตได้จากความงดงาม อ่อนช้อยของพิมพ์พระ ที่มีความบรรจงในการแกะและการกดพิมพ์ ข้างใหนซุ้มนูนต่ำ ข้างนอกลาดออกดูในลักษณะสามมิติ แขนขวาบ่วงเล็กน้อย แขนซ้ายทิ้งดิ่ง ไหล่ขวายกนิดหน่อย ซอกแขนขวาสูงกว่าทางซ้าย ฐานล่างสุดทางขวาเป็นมุม 45 ตรงเข้าหามุม ทางซ้ายค่อนข้างตรง ซุ้มมีความเท่ากันตลอด เป็นที่มาของชื่อเรียก ซุ้มผ่าหวาย สีพระแลดูเป็นสีน้ำตาล มาจากส่วนผสมของ เนื้อปูนเปลือกหอยบด โดยเปลือกหอยชนิดนั้นน่าจะออกสีน้ำตาล ผสมกับว่านและวัตถุสด ผ่านความร้อนกับกาลเวลานับร้อยปีทำให้องค์พระสุกและเปลี่ยนสีดั่งที่เห็นในภาพ บวกกับคราบปูนที่ซึมออกมาอย่างมากจากภายในสู่ภายนอกและเห็นได้ชัด บ่งบอกว่าเป็นพระแท้ไม่ใช่พระที่ย้อมมาที่เห็นตามท้องตลาด
ความรู้เกี่ยวกับการสร้างพระเนื้อว่านนับแต่โบราณมาชนชาติไทยมีความรู้ และผูกพันกับพรรณไม้ตระกูลว่าน ด้วยเห็นคุณค่าทั้งในการใช้ทำยา หรือเชื่อกันว่าทำให้อยู่ยงคงกระพัน ทั้งให้ความเป็นสิริมงคล ดังนั้น เมื่อจะมีการสร้างสิ่งมงคลในรูปพระเครื่อง เครื่องว่านเกสรดอกไม้อันมีสรรพคุณ คุณวิเศษต่างๆเฉพาะตัว จึงเป็นหนึ่งในทัพสัมภาระที่ผู้สร้างพระให้ความสำคัญนำมาเป็นส่วนผสมประเภท หนึ่งที่ขาดไม่ได้จึงกล่าวได้ว่า “ว่าน” เป็นส่วนผสมในการสร้างพระเนื้อดินและเนื้อผง มาแต่โบราณ ดังคำแปลจากจารึกในแผ่นลานทองที่พบในกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี ที่เกี่ยวกับการนำว่านมาผสมสร้างพระดังนี้
“ศุภมัสดุ ๑๒๖๕ สิทธิการิยะ แสดงบอกไว้ให้รู้ มีฤๅษีทั้งสี่ตน พระฤๅษีพิมพิลาไลย์ เป็นประธาน เราจะทำด้วยฤทธี ทำด้วยเครื่องประดิษฐ์มีวุวรรณ เป็นต้น คือบรมกษัตริย์พระยาศรีธรรมโศกราชเป็นผู้ศรัทธาพระฤๅษีทั้งสี่ตน จึงพร้อมกันนำเอาแต่ว่านทั้งหลาย ฤๅษีจึงอัญเชิญเทพยดามาช่วยกันทำพิธี ทำเป็นพระพิมพ์ไว้...”
จากการพิจารณาพระเครื่องจะพบชิ้นส่วนของ “ว่าน” ผสมผสานอยู่ในเนื้อมวลสารของพระหลักๆมากมาย นับจากพระรอดมหาวัน พระกรุทุ่งเศรษฐี พระผงสุพรรณ พระนางพญา พระสมเด็จวัดระฆัง เป็นต้น หากแต่การนำว่านมาผสมนั้น เป็นเพียงส่วนหนึ่งในบรรดาทัพสัมภาระอื่นๆ และ ว่าน ก็มิใช่ส่วนผสมหลัก แม้จะขาดไม่ได้จึงไม่อาจเรียกพระที่มีว่านเป็นส่วนผสมอยู่บ้าง เป็น “พระเนื้อว่าน”
แต่มีพระบางประเภทที่มีการนำว่านวิเศษ มาเป็นส่วนผสมสำคัญ จนเป็นหัวใจของเนื้อหามวลสาร ทั้งเห็นชัดเจน ไม่แทรกซึมปะปนกับมวลสารอื่น เช่น พระเนื้อว่านหลวงปู่ทวดวัดช้างให้ จังหวัดปัตตานี ที่มีการนำดินกากยายักษ์มาบดเป็นส่วนผสมสำคัญ เป็นเนื้อนำประกอบอยู่ในองค์พระ นอกจากนี้ยังพบในพระเครื่องของหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นพระเนื้อผงผสมว่าน ที่เรียกกันว่า “พระเนื้อผงวาสนาจินดามณี”
กรรมวิธีการสร้างพระเนื้อว่านในสมัยโบราณ
เริ่มจากการนำว่านวิเศษต่างๆมาบดให้ละเอียด โดยจะใช้ครกหินตำให้ละเอียด หากเป็นการสร้างพระหลวงปูทวดเนื้อว่าน ปี พ.ศ.๒๔๙๗ ได้ระบุการสร้างพระไว้ดังนี้
“พิธีกดพิมพ์พระเนื้อว่านมีขึ้น ณ วัดช้างให้ โดยมีชาวบ้านและพระภิกษุช่วยกันตำว่านด้วยมือโดยใช้ครกตำ ขณะตำว่านจะต้องท่องคาถาที่พระอาจารย์ทิมระบุไว้ด้วย (ซึ่งในแต่ละวันพระอาจารย์ทิมจะให้ท่องพระคาถาไม่เหมอืนกัน) สำหรับแม่พิมพ์หลวงพ่อทวดที่ได้จัดทำขึ้นจากยางครั่งสีดำนั้น จากข้อมูลหลักฐานต่างๆ กล่าวกันว่าน่าจะมีเบ้าพิมพ์มากกว่า ๑๖ เบ้าพิมพ์ แต่ก็ไม่ทราบจำนวนที่แน่นอน เหตุที่พระอาจารย์ทิมให้ช่างจัดทำแม่พิมพ์ขึ้นอีกจำนวนหนึ่งนั้นเพราะต้อง การที่จะพิมพ์จำนวนพระให้ได้ ๘๔,ooo องค์ แต่ไม่สามารถกดพิมพ์พระได้จำนวนที่ตั้งใจไว้ โดยได้เพียงประมาณ ๖๔,ooo องค์ เนื่องจากระยะเวลามีจำกัด พิธีปลุกเสกในครั้งนั้นมีขึ้นเมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๗ ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๕ เวลา ๑๒.oo น. เมื่อทำพิธีปลุกเสกเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้ใส่ไว้ในบาตรพระให้ประชาชนเช่าบูชาโดยไม่กำหนดจำนวนเงิน สุดแล้วแต่ความศรัทธาของประชาชน"
ด้านหลังพระ นำมาให้ชมกันครับ ร่องรอยของความเก่าเป็นอย่างไร
ต้นมหามงคล ต่างๆที่ให้คุณด้านโชคลาภ ทรัพย์สิน เงิน ทอง สำหรับใช้เป็นส่วนผสมพระสมเด็จ
1. พรมเศรษฐี
2. หัวใจเงิน
3. ใบละพัน
4. เศรษฐีค้าทอง
5. ออมเงิน ออมทอง
6. เศรษฐีริมเงิน
7. เศรษฐีเรือนทอง
8. กวักมหาลาภ
9. เศรษฐีวิสสัน
10. เศรษฐีมีทรัพย์
11. รวยไม่เลิก
12. เศรษฐีเรือนนอก
13. มหาเฮง
14. แก้วสารพัดนึก
15. มหาโชค
16. เสริมลาภ
17. กวักทรัพย์
18. เงินไหลมา
19. ทองไหลมา
20. โชคเก้าชั้น
21. ใบเงิน ใบทอง
บางทีก็ดูเหมือนขององค์หลวงพ่อน้อย
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สัจธรรมพระเครื่อง สัจธรรมพระเครื่อง สัจธรรมพระเครื่อง สัจธรรมพระเครื่อง สัจธรรมพระเครื่อง สัจธรรมพระเครื่อง